Carotenoids (แคโรทีนอยด์) คืออะไร? มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

แคโรทีนอยด์ เป็นสารพฤกษเคมี ที่มีสีเหลือง ส้ม แดง แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยมากมายหลายชนิด ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา ผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง และลดอันตรายจากแสงแดดได้ โดย แคโรทีนอยด์ ชนิดที่สำคัญ ได้แก่

ตามหา Anthocyanins (แอนโทไซยานิน) ได้จากที่ไหน?

พบมากในพืชผักผลไม้ สีม่วงแดง เช่น องุ่นแดง กระเจี๊ยบ อัญชัน ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมสุขภาพสมอง ชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย

เบต้า-แคโรทีน (β-Carotene) พบมากในมะละกอ แครอท มะม่วง เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็นและช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ในการต้านแดด ป้องกัน Sunburn (เสมือนกันแดดแบบกิน) การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคเบต้า-แคโรทีน ช่วยป้องกันการแก่ชราของเซลล์ผิว และฟื้นฟูผิวจากการโดนแสงแดดทำร้ายผิวได้

ไลโคปีน (Lycopene) พบมากในมะเขือเทศ ฟักข้าว แตงโม ช่วยชะลอความชราด้านผิวพรรณ ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ และต้านมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ปกติในธรรมชาติไลโคปีนจะอยู่ในรูป Trans - isomer (สายตรงยาว) แต่เมื่อผ่านความร้อนกระบวนการผลิตหรือปรุงประกอบ จะทำให้ไลโคปีนอยู่ในรูป Cis- isomer (สายโค้งงอ) ซึ่งร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่า Trans - isomer ดังนั้นการบริโภคมะเขือเทศที่ผ่านความร้อนหรือกระบวนการการผลิต เช่น น้ำมะเขือเทศ ก็จะทำให้ร่างกายได้รับไลโคปีนในปริมาณเพิ่มขึ้น

ลูทีน (Lutein) & ซีแซนทีน (Zeaxanthin) พบมากในโกจิเบอร์รี่ กีวี และส้ม ในยุคปัจจุบัน สังคมก้มหน้า ทำให้จอประสาทตาเสื่อมไว...ไม่ต้องรอถึงวัยผู้สูงอายุ วัยรุ่น วัยทำงานก็มีปัญหาสายตาและจอประสาทตาเริ่มเสื่อมเร็ว เนื่องจากติดจอ ติดแชท ติด Social network ทำให้ใช้สายตามากเกิน โดย Blue light หรือแสงสีน้ำเงิน จากจอมือถือหรือจอต่างๆ ซึ่งมีผลไปทำลายเรตินา หรือจอประสาทตา จากการศึกษาวิจัยหลายการศึกษาพบว่า Lutein & Zeaxanthin มีคุณสมบัติป้องกันแสงสีน้ำเงินทำลายเรตินา จึงช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง